วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

การใช้ภาษาไทย



บทความ เรื่อง รณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา นอกจากจะทำให้วิถีชีวิต ของประชาชนคนไทย เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายแล้ว อิทธิพลของกระแสวัฒนธรรมต่างชาติ ที่หลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเทคนิคการสื่อสารสมัยใหม่ ยังมีส่วนทำให้ ภาษาไทยที่ใช้ในปัจจุบัน ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน อยู่ในสภาวะเสื่อมโทรมลงอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากคนไทยเอง ได้ละเลยต่อความสำคัญ ในการใช้ภาษาไทย และมีการใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยน ในการสื่อสารมากขึ้นทุกที จนเป็นที่น่าวิตกว่า หากไม่รีบช่วยกันแก้ไข นานไปเอกลักษณ์ และคุณค่าของภาษาไทย อาจสูญหายไปจนหมดสิ้น
ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการเสนอให้รัฐบาลจัดตั้ง วันภาษาไทยขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้น และปลุกจิตสำนึกให้คนไทย ได้ตระหนัก และเห็นคุณค่าของภาษาไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรี ก็ได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2542 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบกำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็น วันภาษาไทยแห่งชาติตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และสนองพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์ท่านในด้านภาษาไทย รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้สถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานต่างทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนชาวไทย ได้ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมใจกันใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และรักษาภาษาไทย อันเป็นภาษาประจำชาติไว้ให้งดงามยั่งยืนตลอดไป การที่กำหนดเป็นวันนี้ เนื่องจากตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงเสด็จฯ ไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิ ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 เกี่ยวกับปัญหาการใช้คำไทย ซึ่งได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถ และความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจ ผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง และนับเป็นครั้งแรก และครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว
พระราชดำรัสในครั้งนั้น ตอนหนึ่งความว่า เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่ง ต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก...นอกจากนี้ ยังมีพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2512 ความว่า ในปัจจุบันนี้ ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคน จึงมีหน้าที่จะตัองรักษาไว้ ฉะนั้น จึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษา ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ

เพศศึกษา



บทความ เรื่อง เพศศึกษา คืออะไร
ตามคำจำกัดความ (ซึ่งค่อนข้างยาวและยาก) เพศศึกษา คือ กระบวนการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นกรรมวิธีที่จะให้บุคคลได้เรียนรู้ธรรมชาติ ความเป็นจริงของชีวิตและสังคมเพื่อให้บุคคลมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ถูกต้องในเรื่องเพศ ตลอดจนสามารถปรับตัวตามพัฒนาการชีวิตได้อย่างเหมาะสม
ทำไมต้องสอน ?
เรื่องเพศเป็นความจำเป็นที่จะต้องได้ทราบภายในขอบเขต เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของคนทุกคน โดยเฉพาะความเจริญทางจิตใจนั้น จะควบคู่กันไปกับความเจริญทางเพศ  ความรู้สึกในเรื่องเพศย่อมมีอิทธิพลอย่างมากมายต่อสภาพของจิตใจและเป็นที่ยอมรับว่าความแตกต่างเกี่ยวกับบุคลิกลักษณะย่อมจะมาจากสาเหตุอันหนึ่งคือ แรงผลักทางเพศ  ดังนั้นการศึกษาเรื่องเพศและเรื่องจิตใจจำเป็นจะต้องดำเนินควบคู่กันตลอดไป
ใครควรเป็นผู้สอน ?
          แน่นอนทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ครูคนแรกของเด็ก คือ พ่อ แม่  ต่อมาคือหมอเด็ก และเมื่อถึงวัยเรียนก็คือครู แท้ที่จริงแล้วเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เด็กวัยรุ่นเรียนรู้จากเพื่อน และสื่อต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่  ดังนั้นหากเขาได้รับการปลูกฝังให้รู้จักบทบาทและคุณค่าทางเพศที่เหมาะสมมาตั้งแต่เด็ก  ร่วมกับการมีความนับถือตนเอง  (Self-esteem) และทักษะชีวิต สิ่งเหล่านี้จะเป็นภูมิคุ้มกันให้เขาได้เป็นอย่างดีในช่วงวัยรุ่น ให้เขาสามารถแยกแยะได้ว่าความรู้ สื่อและสิ่งยั่วยุจากภายนอก สิ่งใดเหมาะสมและสิ่งใดไม่เหมาะสมได้ในระดับหนึ่ง
สอนอย่างไร ?
          ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้สอน ถ้าเป็นพ่อแม่ ก็ให้สอนโดยการเป็นแบบอย่างที่ดี สอนง่าย ๆ โดยสอดแทรกเข้าไปในชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน มิใช่เรียกลูกมานั่งฟังบอกว่าวันนี้จะเลกเชอร์เรื่องเพศศึกษา     สำหรับหมอเด็ก บทบาทในเรื่องนี้อาจจะน้อยเกินไป มักจะเน้นไปในเรื่องการเลี้ยงดูสุขอนามัยชาย หญิง และการป้องกันพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนทางเพศ ในช่วง 5 ปีแรก  ในคลินิกตรวจสุขภาพเด็ก แต่หลังจากนั้นเรื่องเพศศึกษาดูเหมือนจะค่อย ๆ เลือนหายไป  สำหรับครู มีหลักสูตรการสอนในโรงเรียนแต่ก็มักจะขึ้นกับความถนัดของครูว่าจะเน้นหรือไม่ โดยทั่วไปจะสอนเฉพาะสรีระทางชีววิทยาว่าชาย หญิง เป็นอย่างไร ยังขาดการสอดแทรกเรื่องของบทบาทคุณค่าและค่านิยมทางเพศต่อสังคมและวัฒนธรรม   แต่ไม่ว่าจะเป็นใครสอนก็ตาม จะต้องสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการและวัยของเด็ก




สอนอะไร ?
          แนวคิดหลักในการพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษาตามหลักสูตรใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข มี 7 ด้าน คือ
          1. พัฒนาการทางเพศ (Human sexual development) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจเรื่องเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศตามวัย  ทั้งทางร่างกาย   
จิตใจ อารมณ์ และสังคม
          2. สุขอนามัยทางเพศ (Sexual health) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลสุขภาพอนามัยทางเพศได้ตามวัย เช่น การดูแลรักษาอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ อนามัยการเจริญพันธุ์ ความเข้าใจต่าง ๆ ในเรื่องเพศ
          3. พฤติกรรมทางเพศ (Sexual behavior) หมายถึง การแสดงออก
ถึงพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมกับเพศและวัย
          4. สัมพันธภาพ (Interpersonal relation) หมายถึง การสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับบุคคลในสังคม การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับเพื่อนเพศเดียวกัน และต่างเพศ การเลือกคู่ การเตรียมตัวก่อนสมรส และการสร้างครอบครัว
          5.ทักษะส่วนบุคคล (Personal and communication skills) หมายถึง ความสามารถในการจัดการสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการปฏิเสธ ทักษะการขอความช่วยเหลือ ทักษะการจัดการกับอารมณ์ ทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ
          6. สังคมและวัฒนธรรม (Society and culture) หมายถึง ค่านิยมในเรื่องเพศที่เหมาะสมสอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมไทย และการปรับตัวต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเฉพาะจากสื่อที่ยั่วยุต่างๆ
          7.  บทบาททางเพศ (Gender role) หมายถึง การสร้างเอกลักษณ์ทางเพศที่เหมาะสม ความเสมอภาคทางเพศ และบทบาททางเพศที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคมอย่างสมดุล.

บทความ ภาษาไทยกับวัยรุ่นไทย



บทความ ภาษาไทยกับวัยรุ่นไทย
                สังคมเราในปัจจุบันนี้โลกเราได้มีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องอย่างมากในชีวิตของคนไทยเรา ทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันรวมทั้งการสื่อสารด้วย ซึ่งในประเทศไทยนี้เยาวชนยุคใหม่บางส่วนได้นำค่านิยมผิด ๆ มาใช้กัน นั้นก็คือการใช้ภาษาไทยที่ผิด โดยเยาวชนกลุ่มนั้นคิดว่าเมื่อใช้แล้วมันเก๋ดี มันเท่ห์ดี แต่หารู้ไม่ว่าอาจจะทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงและทำให้เยาวชนยุคหลังๆใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องตามไปด้วย ประเทศไทยของเรามีภาษาเป็นของตนเองแสดงออกถึงความเป็นเอกราชและความภาคภูมิใจของคนไทยเรา ภาษาไทยเป็นมรดกของคนไทยมายาวนาน แต่เยาวชนยุคบางส่วนใหม่กลับไม่รู้คุณค่าของมันเลย
       การใช้ภาษาไทยที่ผิด ๆ ของวัยรุ่นนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้ภาษาไทยวิบัติลงไปจริง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากที่วัยรุ่นใช้สื่อสารกันทาง msn เช่นคำว่า ทามอะไรอยู่-ทำอะไรอยู่ เปนอะไร-เป็นอะไร เพราะคำเหล่านี้ทำให้พิมพ์ง่าย สื่อสารกันได้เร็ว และดูเก๋ด้วย แต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ภาษาไทย 1คำ สามารถเขียนได้หลายแบบ เพราะภาษาไทยมีพยัญขนะที่ออกเสียงเหมือน ๆ กัน มีสระที่เสียงคล้าย ๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไป เป็นเสมือนการสร้างคำ สร้างภาษให้มีการวิบัติมากขึ้น การใช้คำใช้ภาษาไปผิดๆ ทำให้เป็นการฝึกนิสัยในการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา และฉันกลาพูดได้เลยว่าวัยรุ่นไทยสมัยนี้เขียนคำ สะกดคำในภาษาไทย ได้ไม่ถูกตามตัวสะกด และเขียนภาษาไทยได้ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา พูดไม่ถูกอักขระ ไม่มีคำควบกล้ำ บางคนพูดภาษาไทยไม่ชัดเจนด้วยซ้ำไปและอยากจะยกตัวอย่างการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นจากความคิดเห็นของดร.นพดล กรรณิกา ว่า เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนาม เรื่อง วันภาษาไทยแห่งชาติ กับสิ่งที่คนไทยต้องการรักษาไว้ในสังคมไทย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 2,277 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 17-20 ก.ค. พบประเด็นแรกที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.3 ไม่ทราบว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันใด มีเพียงร้อยละ 14.7 ที่ทราบและตอบถูกว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เมื่อสอบถามความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.9 ไม่ทราบว่าภาษาไทยมีสระกี่รูป ร้อยละ 81.2 ไม่ทราบความหมายของร้อยกรอง ร้อยละ 75.0 ไม่ทราบความหมายของร้อยแก้ว ร้อยละ 64.2 ไม่ทราบวรรณยุกต์ในภาษาไทยว่ามีกี่รูป และร้อยละ 11.7 ไม่ทราบว่าพยัญชนะไทยมีกี่ตัว  เมื่อถามถึงพยัญชนะภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด พบว่า ร้อยละ 26.1 ระบุเป็นตัว รองลงมาคือ ร้อยละ 13.6 ระบุ เป็น ร้อยละ 9.8 ระบุเป็น ร้อยละ 5.8 ระบุเป็น ร้อยละ 4.5 ระบุเป็น และร้อยละ 4.5 เท่ากัน ระบุเป็น ตามลำดับ  นอกจากนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.9 มีปัญหาเรื่องเขียนภาษาไทยผิด ร้อยละ 31.9 จับใจความผิด ร้อยละ 29.6 พูดผิด ร้อยละ 27.5 อ่านผิด ร้อยละ 18.6 ฟังผิด เป็นต้น
        ส่วนกลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 ระบุคือกลุ่มวัยรุ่น ร้อยละ 46.0 ระบุเป็นกลุ่มนักร้อง ร้อยละ 44.8 ระบุเป็นกลุ่มดารานักแสดง ร้อยละ 18.1 ระบุผู้ดำเนินรายการวิทยุ ร้อยละ 17.2 ระบุเป็นนักการเมือง ร้อยละ 17.2 ระบุเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ ร้อยละ 15.8 ระบุเป็นผู้ประกาศข่าว และร้อยละ 8.9 ระบุเป็นครูอาจารย์ ตามลำดับ

สัตว์ที่มีอายุเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย



สัตว์ที่มีอายุเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย


           Dr Maria Miglietta นักวิทยาศาสตร์จาก the Smithsonian Tropical Marine Institute  เปิดเผยว่าแมงกะพรุนที่เรียกว่า Turritopsis Nutricula  มีชีวิตเป็นอมตะ เนื่องจากมันสามารถย้อนวัยตัวเองกลับไปสู่วัยหนุ่มสาวได้อีก หลังจากที่่ได้สืบพันธ์แล้ว   นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้บอกว่าจำนวนของแมงกะพรุนสายพันธ์นี้กำลังเพิ่ม จำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากชีวิตที่เป็นอมตะของพวกมัน

แหล่งกำเนิดสัตว์ที่มีอายุยืนที่สุด
                Turritopsis Nutricula เป็นแมงกะพรุนที่มีต้นกำเนิดอยู่ในแถบ Caribbean แต่ขณะนี้มันกำลังกระจายไปทั่วทุกแห่งในโลกอย่างรวดเร็ว

ลักษณะเด่นสัตว์ที่มีอายุยืนที่สุด
                แมงกะพรุน (Turritopsis Nutricula) เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อว่า  hydrozoan  และเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตขนิดเดียว ที่สามารถย้อนวัยตัวเองกลับสู่วัยหนุ่มสาว  ด้วยวิธีที่เรียกว่า cell development process of transdifferentiation  นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ขั้นตอนของcell development process of transdifferentiation ใน  Turritopsis Nutricula จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้มันมีชีวิตที่เป็นอมตะ ในขณะที่แมงกะพรุนสายพันธ์อื่นๆ  จะตายไปตามอายุขัยเหมือนสิ่งชีวิตอื่นๆในโลก

นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาว่าเหตุใด แมงกะพรุนสายพันธ์นี้ที่มีขนาดเพียง 5 มิลลิเมตร ถึงได้มีคุณสมบัติพิเศษในการย้อนวัยตนเองได้

ที่มา  :  http://www.banprak-nfe.com

รู้จักกับจุดดำบนดวงอาทิตย์ (sunspot)



รู้จักกับจุดดำบนดวงอาทิตย์ (sunspot)
จุดดำบนดวงอาทิตย์ (sunspot) เป็นปรากฏการณ์บนพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่สังเกตได้ง่ายที่สุด จึงไม่น่าแปลกใจที่มันจะถูกค้นพบมาตั้งแต่สมัยของกาลิเลโอแล้ว จุดดำบนดวง  อาทิตย์เมื่อมองผ่านแผ่นกรองแสงจะมีลักษณะเป็นจุดสีดำขึ้นประปราย อยู่บนผิวหน้าของดวงอาทิตย์ คล้ายกับดวงอาทิตย์ตกกระ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ง่าย ๆ โดยการใช้ฉากรับภาพจากกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตา
จุดดำบนดวงอาทิตย์เกิดขึ้นที่ชั้นโฟโตสเฟียร์ เช่นเดียวกับ แกรนูล (ลักษณะที่เป็นเม็ด คล้ายฟองที่เดือนพล่านบนผิวของดวงอาทิตย์) ขนาดของจุดดำมีตั้งแต่เท่ากับแกรนูลฟองเดียว หรืออาจจะใหญ่กว่านั้น และอาจมีการรวมกลุ่มกันเป็นกระจุกจนมีพื้นที่หลายพันล้านตารางกิโลเมตร โครงสร้างของจุดดำบนดวงอาทิตย์มิได้มีลักษณะดำมืดแต่เพียงอย่างเดียว หากพิจารณาดูดี ๆ แล้ว จะพบว่าแต่ละจุดจะมีลักษณะซ้อนกันสองชั้น โดย จุดดำชั้นใน (umbra) จะมีสีดำเข้ม ส่วนจุดดำชั้นนอก (penumbra) ซึ่งล้อมรอบอยู่จะมีลักษณะจางกว่าและมีริ้วลายเป็นเส้นในแนวรัศมี ดูเผิน ๆ แล้วจุดดำของดวงอาทิตย์จะคล้ายกับลูกตาดำของคน โดยจุดดำชั้นในแทนรูม่านตาส่วนชั้นนอกแทนม่านตา โดยทั่วไปแล้วพื้นที่ส่วนจุดดำชั้นนอกมักมีพื้นที่มากกว่า บางครั้งอาจมากถึง 80% ของพื้นที่จุดดำทั้งหมด บริเวณจุดดำชั้นนอกเป็นบริเวณที่มีการไหลของแก๊สจากบริเวณจุดดำชั้นในไปสู่ พื้นที่นอกจุดดำ เมื่อแก๊สไหลออกไปนอกจุดดำชั้นนอกแล้วก็จะเปลี่ยนทิศพุ่งขึ้นตั้งฉากกับผิว ของดวงอาทิตย์จนถึงชั้นโครโมสเฟียร์ (บรรยากาศที่อยู่เหนือพื้นผิวของดวงอาทิตย์) หลังจากนั้นจึงย้อนกลับพุ่งลงในใจกลางของจุดดำอีกครั้งเป็นวัฏจักรต่อไป
การกระจายตัวของจุดดำนั้น มักพบว่าจุดดำมักเกิดขึ้นเป็นคู่หรือรวมกลุ่มเป็นกระจุกใหญ่จำนวนมาก ๆ แต่จุดดำคู่จะพบได้มากกว่า ส่วนจุดดำที่ขึ้นเดี่ยว ๆ จะไม่พบมากนัก นอกจากนี้ยังพบว่าจุดดำบนดวงอาทิตย์มีการเกิดขึ้นและสลายตัวตลอดเวลา โดยปรกติแล้วจุดดำแต่ละจุดจะมีอายุประมาณไม่เกินสองสัปดาห์ แต่ก็อาจมีบางจุดที่มีอายุยาวนานนับเดือนก็เป็นได้
จุดดำบนดวงอาทิตย์ที่รวมกลุ่มกันเป็นกระจุกใหญ่ สิ่งที่เห็นเป็นเม็ดละเอียดจำนวนมากในส่วนพื้นที่สว่างคือ แกรนูล (granule)
 
คำอธิบาย: http://thaiastro.nectec.or.th/library/solarstormfacts/solarstormfacts3.jpg
ถึงแม้ว่าจุดดำชั้นในจะเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำที่สุดบนดวงอาทิตย์จนมอง เห็นเป็นสีดำสนิท แต่มันก็ยังมีอุณหภูมิสูงถึง 4,000 เคลวิน ในความเป็นจริง แก๊สที่มีอุณหภูมิขนาดนี้จะมีความสว่างมาก แต่สาเหตุที่เราเห็นเป็นสีดำนั้นเนื่องจากพื้นผิวของดวงอาทิตย์โดยรอบจุดดำ หรือโฟโตสเฟียร์มีความสว่างมากกว่ามาก เพราะมีอุณหภูมิสูงถึง 6,000 เคลวินนั่นเอง ดังนั้นคำว่า "จุดดำ" คงจะไม่ตรงตามความจริงเท่าใดนัก เพราะจุดมันไม่ดำจริง ๆ ส่วนบริเวณจุดดำชั้นนอกนั้นมีอุณหภูมิต่ำกว่าโฟโตสเฟียร์เพียงเล็กน้อย คือประมาณ 5,600 เคลวิน
ในขณะที่ความสว่างของจุดดำบนดวงอาทิตย์จะน้อยกว่าที่อื่น ๆ แต่สนามแม่เหล็กบริเวณนี้กลับมีความเข้มข้นสูงมาก เราพบว่าสนามแม่เหล็กจะมีทิศจะพุ่งออกจากจุดดำพร้อม ๆ กับนำเอาแก๊สร้อนจัดจากภายใต้พื้นผิวดวงอาทิตย์ขึ้นมาด้วย สนามแม่เหล็กที่จุดดำอาจมีความเข้มสูงถึง 0.2 - 0.4 เทสลา (1 เทสลาเท่ากับ 10,000 เกาสส์) รูปร่างและทิศทางของสนามแม่เหล็กจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของกลุ่ม ของจุดดำเหล่านี้ กล่าวคือ บริเวณที่มีจุดดำเป็นคู่ สนามแม่เหล็กจะพุ่งขึ้นออกจากจุดดำจุดหนึ่งสู่บรรยากาศชั้นบนเหนือโฟโตสเฟีย ร์ แล้วเลี้ยวโค้งวกกลับลงสู่จุดดำอีกจุดหนึ่งที่อยู่คู่กัน จุดดำสองจุดนี้จึงมีขั้วแม่เหล็กที่ตรงข้ามกันเสมอ เหมือนกับแม่เหล็กแบบเกือกม้าที่ติดอยู่บนผิวดวงอาทิตย์ เราเรียกสนามแม่เหล็กรูปร่างแบบนี้ว่า สนามแม่เหล็กแบบ ไบโพลาร์ (bipolar)
บริเวณที่มีจุดดำรวมกลุ่มกันเป็นกระจุกขนาดใหญ่จะมีรูปร่างของสนามแม่เหล็ก ที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ยังคงเป็นสนามแม่เหล็กปิดเช่นเดียวกับสนามแม่เหล็กแบบไบโพลาร์ ส่วนจุดดำที่เป็นจุดเดียวโดด ๆ ไม่รวมกลุ่มหรือเข้าคู่กับจุดดำอื่น ๆ สนามแม่เหล็กจะพุ่งออกจากจุดดำชั้นในและสาดออกไปสู่อวกาศโดยไม่วกกลับเข้ามา เรียกว่าเป็นสนามแม่เหล็กเปิด ซึ่งเป็นช่องทางที่มวลสารจำนวนมากดวงอาทิตย์พุ่งทะลักสู่อวกาศ และเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดลมสุริยะ
จุดดำแบบคู่ที่อยู่ในซีกดาวเดียวกัน จะมีทิศทางสนามแม่เหล็กวางไปในทางเดียวกัน และซีกดาวแต่ละซีก จะมีทิศทางสนามแม่เหล็กของจุดดำแบบคู่ตรงข้ามกันเสมอ

 
คำอธิบาย: http://thaiastro.nectec.or.th/library/solarstormfacts/solarstormfacts39.gif สนามแม่เหล็กแบบไบโพลาร์บนดวงอาทิตย์มีลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ ทุก ๆ คู่ของจุดดำจะเรียงกันในแนวนอนเกือบขนานกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ เนื่องจากดวงอาทิตย์มีการหมุนรอบตัวเองด้วย ดังนั้นจุดดำสองจุดในแต่ละคู่จึงมีชื่อเรียกว่า จุดนำ และ จุดตาม เรามักพบว่าจุดนำของแต่ละคู่มักจะอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากกว่าจุดตามเล็ก น้อย นอกจากนี้ยังพบว่า สนามแม่เหล็กแบบไบโพลาร์ที่เกิดขึ้นในซีกดาวเดียวกันจะมีทิศทางตรงกันทั้ง หมด และทิศทางของสนามแม่เหล็กของซีกเหนือและซีกใต้ของดวงอาทิตย์จะตรงข้ามกัน เสมออีกด้วย