พื้นฐานคุณธรรมมีน้ำใจ (Kindness)
มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง เห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์
มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ให้ความสนใจช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ผู้ที่มีน้ำใจ คือ
ผู้ให้และผู้ช่วยเหลือสังคม รู้จักเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น
อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการ
คุณธรรมพื้นฐานเรื่องมีน้ำใจมีความสำคัญอย่างไร?
คนมีน้ำใจหรือมีใจเอื้อเฟื้อ คือ
คนที่มีเมตตา มีความหวังดีอยู่เสมอ เป็นคุณธรรม 2 หมวด คือ พรหมวิหาร 4
และสังคหวัตถุ 4 จะมีหลักความประพฤติ ดังนี้
พรหมวิหาร เป็นคุณธรรมภายในจิตใจ
ได้แก่
ความเมตตา คือ มีความรัก
ความปรารถนาดี หวังดีต่อผู้อื่น
ความกรุณา คือ ความสงสาร
อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์
มุทิตา คือ ความเบิกบาน พลอยยินดี
เมื่อเห็นผู้อื่นอยู่ดีมีสุข
อุเบกขา คือ ความมีใจเป็นกลาง
ปฏิบัติตามหลักการ เหตุผล และความเที่ยงธรรม
บำเพ็ญการสงเคราะห์ ซึ่งเป็นคุณธรรมภายนอก
ได้แก่
การให้ทาน คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือสงเคราะห์
ปิยวาจา คือ พูดด้วยคำสุภาพ
ไพเราะ น่าฟัง ชี้แจงแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ มีเหตุผล ชักจูงในทางที่ดีงาม อัตถจริยา คือ ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น
ช่วยเหลือด้วยแรงกาย
สมานัตตตา คือ
ทำตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ วางตนเสมอต้นเสมอปลาย ให้ความเสมอภาค ไม่เอา
พื้นฐานคุณธรรมมีน้ำใจ
ประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข จำเป็นจะต้องเป็นผู้มีน้ำใจ
มีไมตรีต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง และความมีน้ำใจเป็นสิ่งที่นักเรียนทุกคนสามารถทำได้
ด้วยการเอาใจเขามาใส่ใจเรา คิดถึงผู้อื่น
และแสดงต่อผู้อื่นเหมือนที่ต้องการให้คนอื่นแสดงต่อตนเอง สามารถทำดีต่อผู้อื่นได้
โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เป็นผู้ให้มากกว่าที่จะเป็นผู้รับ แสดงน้ำใจกับคนรอบข้าง
เสียสละกำลังทรัพย์ สติปัญญา กำลังกาย และเวลา ให้แก่ผู้เดือดร้อน ดังนั้น ถ้านักเรียนมีนิสัยเอื้อเฟื้อ
ช่วยเหลือเกื้อกูล ให้ความรักแก่ผู้อื่น และให้ความร่วมมือ
ช่วยเหลืออย่างสุดความสามารถด้วยความจริงใจที่มี ก็ย่อมเป็นที่รัก ที่ต้องการ
เป็นคนมีคุณค่าต่อสังคม
ครูจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐานสร้างความมีน้ำใจ
ด้วยการเจริญสติ ได้แก่ การสวดมนต์ นั่งสมาธิ
การสวดมนต์
เป็นการปลูกฝังสร้างความรู้สึกสมานสามัคคีในชุมชน ทำให้รู้สึกว่าเป็นหมู่เดียวกัน
และเป็นโอกาสที่จะทบทวนคำสอน เป็นการตั้งต้นสำหรับวันใหม่ ด้วยความรู้สึกตัว มีสติ
ทั้งยังเป็นอุบายในการเปลี่ยนอารมณ์ให้จิตอยู่ในปัจจุบัน ไม่ฟุ้งซ่านวุ่นวาย
ทางโรงเรียนจะเริ่มต้นตอนเช้าด้วยการให้นักเรียน ได้สวดมนต์
การนั่งสมาธิ ครูจะให้นักเรียนเอาขาขวาทับขาซ้าย
มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง นั่งให้สบาย พอดี หายใจให้สบาย
กำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก โดยสม่ำเสมอ ติดต่อกัน ไม่ต้องคิดอะไร
สุดท้ายตั้งใจแผ่เมตตา
การสอนให้นักเรียนมีคุณธรรมที่จะใช้ได้ตลอดชีวิต
จะให้ได้ผลจริง ครูผู้สอนจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี เพราะถ้าหากว่าครูพยายามปลูกฝังคุณธรรมในนักเรียน
ทั้งๆ ที่ตัวครูเองยังไม่มีคุณธรรมนั้น คำพูดและการสอนของครูคงไม่มีน้ำหนัก
ดังนั้น ครูจึงต้องฝึกฝนตัวเองให้เป็นผู้มีคุณธรรม มีหลักบารมี 10 ทรรศดังนี้
การให้ทานที่ประกอบด้วยปัญญา
เข้าใจเหตุผลของการให้ ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ การให้ทานที่สูงขึ้น คือ การให้อภัย
ปล่อยวาง ไม่ถือสา ส่วนทานที่สูงสุด คือ การให้ธรรมะ
มีน้ำใจแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่น
ศีล ศีลธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตมั่นคง
ทำให้เรามีความเคารพนับถือตัวเอง เป็นผู้ที่สังคมยอมรับ
ปัญญา ที่เกิดจากการรู้เข้าใจชีวิตตามความเป็นจริง
รู้ว่าอะไรเป็นบุญ อะไรเป็นบาป เรียนรู้และพยายามใช้ความคิด
ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ฝึกตัวเองให้รู้เท่าทันอารมณ์
ซึ่งเป็นคุณธรรมสำคัญที่ครูควรจะพัฒนาตัวเองและควรนำไปสอนนักเรียนด้วยเช่นกัน
ความอดทน ต่อความร้อน
ความหนาว ความหิว ความกระหาย คำพูดของคนอื่น และอารมณ์ของตัวเอง
ความขยันหมั่นเพียร
ขยันในการป้องกันสิ่งที่ไม่ดีที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น
และขยันในการพัฒนาสิ่งที่ดีที่เกิดขึ้นแล้วให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป
ความจริงใจ จริงใจกับตัวเอง
จริงทั้งกาย ทั้งวาจา ไม่ยอมพูดเท็จ ไม่ยอมพูดบิดเบือนจากความจริง
เราจะเป็นคนที่เด็ดเดี่ยว มีจิตใจที่เฉียบคม ซึ่งเป็นฐานของความสุข
อธิษฐานบารมี การตั้งจิตอธิษฐาน
ด้วยการตั้งเป้าหมายเป็นระยะๆ ที่เรียกว่า เป้าหมายย่อย
จึงจะทำให้เรามีความรู้สึกกำลังก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา
การอธิษฐานจึงใช้เป็นเทคนิคในการให้กำลังใจแก่ตัวเอง ครูควรฝึกให้มีเป้าหมาย
ในชีวิต
เมตตา เป็นคุณธรรมสำคัญของครู
ของผู้สอน และเมตตาเป็นความรักที่ประกอบด้วยธรรม เป็นความรักที่ไม่มีเงื่อนไข
ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่โกรธ
อุเบกขา จิตใจที่เป็นกลาง
ที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจในโลกความเป็นจริง
ครูจึงควรตั้งอกตั้งใจที่การสร้างเหตุ กำหนดหน้าที่อันถูกต้อง ทำเต็มความสามารถ
และปล่อยวางในผลที่จะ
บรรณานุกรม
ชยสาโรภิกขุ.
(2541).
ความรู้ไม่ท่วมหัว เอาตัวรอดได้. กรุงเทพฯ : โรงเรียนทอสี.
ชยสาโรภิกขุ.
(2549).
โหลหนึ่งก็ถึง : คุณธรรม 12 ประการ
เพื่อความสำเร็จในการศึกษาวิถีพุทธ” จัดทำโดยโรงเรียนทอสี.
กรุงเทพฯ : บริษัท คิว พริ้นท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์
(ป.อ.ปยุตฺโต). (2546).
ธรรมนูญชีวิต พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม. (พิมพ์ครั้งที่ 57)
กรุงเทพฯ :.
นายบุญมี ต้องเสรีกุล
ผู้สอนวิถีธรรมวิถีไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น